Monday, 1 October 2018

การใช้ Similarly - In the same way - Likewise

Grammar เป๊ะ!!


ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากครับที่ได้รับคำถามมาจากรุ่นน้องท่านหนึ่ง สอบถามผมมาทาง message ครับ จริงๆต้องให้เกียรติน้องเขาหน่อยเพราะตอนนี้เขาเป็นอาจารย์ประจำมหาลัยแล้วคับ น่าภาคภูมิใจมากทีเดียว ผมขอแสดงความชื่นชมและเคารพเป็นอย่างสูงครับ


สอบถามมาเรื่องวิธีการใช้สำนวนเชื่อมประโยค หรือ Linking Expression ครับ โดยได้ส่งภาพนี้มาด้วยครับ ถามว่ามันใช้ต่างกันอย่างไร ...


ลองให้ผมอธิบายดังนี้นะครับ หวังว่าสิ่งที่ผมเขียนจะอธิบายให้คุณๆผู้อ่านทุกท่านเข้าใจได้อย่างดีที่สุดทีเดียว อ่านแล้วจำไปใช้ได้ในสถานการณ์ที่เหมาะสมเลยนะครับ



จากภาพ เป็นตัวอย่างการเปรียบเทียบเนื้อความประโยค โดยใช้คำว่า
Similarly, In the same way, Likewise, clause (sentence)


​โดยความหมายแล้ว 3 ตัวนี้ใช้สื่อความหมายเหมือนกันเลยครับ เหมือนกัน เด๊ะ เป๊ะ เลย นั่นคือ
Similarly แปลว่า "ซึ่งคล้ายกัน" หรือ "ในทำนองเดียวกัน"
In the same way แปลว่า "ในแนวทางเดียวกัน"
และ likewise แปลว่า "เช่นกัน"


และทั้ง 3 phrase นี้ก็ทำหน้าที่เป็น adverb ของประโยค จึงเหมือนใช้แทนกันได้เลยครับ

หลักการใช้คือ เราจะมีประโยคแรกก่อนหน้าครับ ที่อธิบายให้ชัดเจนได้ระดับหนึ่งไปใน “แนวทาง” หรือ “เส้นทาง” หนึ่งๆ ครับ แล้วใช้คำเหล่านี้ join หรือ “เชื่อมประโยค” แล้วประโยคต่อมาต้องอธิบายตัวอย่างอื่น หรือประเด็นอื่น ใน “แนวทางเดียวกัน” หรือ “เส้นทางเดียวกัน” นะครับ ตรงนี้ผมย้ำว่าสำคัญมากจริงๆ ครับ ผมเลือกใช้คำว่า "เส้นทาง" นี้ก็เพราะว่ามันจะเป็นเส้นทางใดก็ได้ครับ หลากหลายเรื่องเลยครับ ไม่ว่าจะเรื่องดีหรือไม่ดี เรืองการพัฒนาหรือการถดถอย เรื่องปัญหาหรือเรื่องแนวทางแก้ไข เรื่องแนวคิดต่างๆก็ได้ครับ ขอให้เป็น “เส้นทางนั้นเส้นเดียว” ที่เขียนสื่อเป็นนัยไว้นะครับ

ข้อสังเกตที่สำคัญอีกอันก็คือ ส่วนใหญ่เรานำไว้หน้าประโยคผล (ประโยคที่ 2) ไว้หลัง comma (,) แบ่งไว้ครับ แต่ถ้าไม่อยากใส่ comma ก็ได้นะครับ เพราะอย่างที่ทราบว่ามันเป็น adverb มันอยู่ตรงไหนก็เป็นที่เข้าใจได้ครับ สังเกตได้ถ้าใครอ่านหนังสือภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเยอะๆ นักเขียนจะไม่ใส่ comma มากมายครับ ไม่งั้นจะเต็มไปหมด จึงเอาที่จำเป็น ตัวอย่างเช่นครับ

คำว่า Similarly

Travelling to Japan can be an incredible experience because Japanese people are really sincerely polite. Similarly, if you come to Thailand you will find that Thais are thought to be kind and generous to tourists.

“การท่องเที่ยวไปประเทศญี่ปุ่นจะเป็นประสบการณ์ที่สุดยอดมากๆ เพราะว่าคุณญี่ปุ่นเป็นคนสุภาพอย่างจริงใจจริงๆ ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณมาเที่ยวประเทศไทยคุณจะพบว่า คนส่วนใหญ่มองคนไทยว่าเป็นคนใจดีกับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ”

แนวทางของความหมายก็คือ ประโยคแรกว่า “ประสบการณ์ท่องที่มีความสุขเพราะความเป็นสุภาพชนที่ญี่ปุ่น” นะครับ แล้วเชื่อม Similarly แล้วเชื่อมประโยคที่ 2 ที่มีใจความ “ความใจดีของคนไทยต่อนักท่องเที่ยว” ครับ เส้นทางเดียวกันแบบนี้นะครับ

ตัวอย่างการใช้ In the same way ครับ
Just because someone is working as a financial consultant​ doesn't mean that he or she can start a business. In our society somehow we are trained to easily make predictions about people based on their status or appearances. In the same way, if you think all people who can speak English are intelligent then you're very likely to be disappointed. Even though English is just the language we use, true wisdom actually comes from the way one thinks and reacts to a circumstance.

“เพียงเพราะว่าใครบางคนทำงานเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงิน มันก็ไม่ได้หมายความเขาหรือเธอคนนั้นจะเริ่มทำธุรกิจได้ ปัจจุบัน เราถูกเสี้ยมสอนทางสังคมให้คาดการประเมินผู้อื่นอย่างง่ายดายโดยพื้นฐานของฐานะหรือรูปร่างหน้าตาของเขา ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณคิดว่าคนทุกคนที่พูดภาษาอังกฤษได้เป็นคนฉลาดหมดละก็ คุณก็น่าจะพบกับความผิดหวัง เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นเพียงภาษาที่เราใช้ แต่ปัญญาที่แท้จริงมาจากวิธีการคิดและประพฤติต่อสถานการณ์ใดๆที่เกิดขึ้นต่างหาก”


ลองตัวอย่างกับคำว่า likewise บ้างนะครับ เอาประโยคสั่นๆ พอละกันครับ เนื่องจาก likewise เป็น adverb คำเดียวโดดๆ จึงสามารถแทรกไว้ตรงไหนของประโยคที่ต้องการที่เหมาะสมก็ได้ครับ มันกะทัดรัดมากกว่าครับ ตัวอย่างเช่น

Taking examination can be rather stressful for students. If you’re looking for a job, going to job interviews likewise can be quite nerve-wracking.

การทำข้อสอบบางทีมันก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างเครียดสำหรับนักเรียน ถ้าคุณกำลังหางานอยู่ การไปสัมภาษณ์งานก็เป็นเรื่องที่น่ากระวนกระวายใจอย่างหนึ่งเช่นกัน

สังเกตได้นะครับว่าประโยคแรกมีนัยว่า “ความเครียดในการสอบ” และประโยคที่สองสื่อว่า “ความเครียด
คล้ายๆกันของการเข้าสัมภาษณ์งาน” ครับ

น่าสนใจทีเดียวครับ ทั้ง 3 วลีเชื่อมประโยคนี้ เราควรนำมาใช้ในภาษาอังกฤษให้เหมาะสมครับ มันเป็นการบอกให้ผู้ฟังรู้ด้วยว่าเรากำลัง “คิด” ก่อนที่จะพูดอะไรออกมา

ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ แล้วเจอกันใน post ต่อไปครับ

Hope you have a lovely day,

Than Bristol House xxx

Visit www.bristolhouse.net
www.facebook.com/ThanEnglishClub/
www.youtube.com/channel/UCqtpB0APy3Iy6ZPScLdjlZg
Bristol House
Miracle of Knowledge
Enrich your English at Bristol House School call 085-164-6105

No comments:

Post a Comment