Tuesday 9 October 2018

พระบรมราโชวาท ร.๙ ใจความ ศิษย์กับครู (ตอน 2)

Royal Guidance พระบรมราโชวาท;


Continues.. ต่อกันครับ


หลายคนที่ต้องทำงานกับบริษัทที่ต้องสื่อสารภาษาอังกฤษกับต่างชาติ แน่นอนว่าความเก่งของการเขียนภาษาอังกฤษที่ดี และถูกต้อง จะเป็นผลทำให้การสื่อสารรู้เรื่อง และที่สำคัญ ได้รับความเคารพอย่างดีจากชาวต่างชาติครับ คงเป็นเช่นเดียวกับสมัยที่ผมทำงานอยู่ในประเทศอังกฤษที่ฝรั่งเอง หากสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยแกรมม่าดีเขาจะทำงานดีๆ อัตราเงินเดือนสูงๆ กันครับ


หากคุณอยากเก่งภาษาอังกฤษ ลงเรียนภาษาอังกฤษกับผมนะครับ ไม่ว่าจะเป็นคอร์สสดซึ่งเรียนที่สำนักงานสาขาบามด-พระราม๒ (http://bristolhouse.net/english-language-course.php) หรือเรียนออนไลน์ทางอินเตอร์เน็ตเมื่อใดก็ได้ที่คุณสะดวก ผมอัดวีดีโอเนื้อหาแต่คอร์สไม่ซ้ำกันเลยครับ ติดตามลงเรียนได้ทันที และผมเป็นคนตรวจการบ้านเองครับ (http://bristolhouse.net/reg_onlinecourse.php) หรือหากท่านใดสนใจเรียนส่วนตัวก็ติดต่อนัดวันเวลากันได้นะครับ มีเนื้อหาที่จัดเตรียมให้ทุกท่านได้อย่างเหมาะสมครับ (โทร 085-164-6105)


พระบรมราโชวาท ทรงตรัสต่อไว้ว่า..


“..การจะเรียนให้ได้อย่างนั้น จะทำอย่างไร ก็ต้องเข้าใจว่า เราจะต้องมีวิชาสำหรับสร้างตัวให้มีความสุขความเจริญต่อไปข้างหน้า ถ้าไม่ขวนขวายศึกษาเสียแต่ต้นจะไม่มีโอกาส จะทำให้ชีวิตอับเฉาและเป็นคนไร้ประโชยน์ เพราะไม่มีความรู้ติดตัว”


ประโยคแรกก่อนนะครับ เราเขียนอย่างไรดี เมื่อคุณผู้อ่านได้อ่านจนจบ ก็เข้าใจหลักการผันกันของภาษาอังกฤษอย่างดีทีเดียวครับ


“..การจะเรียนให้ได้อย่างนั้น จะทำอย่างไร” ประโยคนี้มีความหมายเป็นคำถามเพื่อส่งทอดเหตุผลอธิบายต่อในประโยคต่อไป วิธีที่ไพเราะที่สุด เราทำเป็นประโยคคำถามง่ายๆ ก็พอครับ เพราะมันควรเป็นเพียง Transition เพื่อต่อไปประโยคต่อไป หากเราเขียนยาวเกินไปแล้วอาจทำให้สมาธิหลุดครับ แล้วเราก็ใส่ adverb ที่สื่อ เอาไว้ขยายท้ายประโยค ได้ว่า


How to do that precisely?


“..ก็ต้องเข้าใจว่า” เราสังเกตได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษนั้นคล้ายคลึงกัน คือมี ประธาน+กริยา+กรรม+ส่วนขยาย นะครับ แม้ส่วนใหญ่ภาษาไทยเรานั้นประโยคไม่ต้องมีประธานก็สื่อสารเข้าใจได้ แต่ภาษาอังกฤษเราทิ้งประธานไม่ได้นะครับ หากพูดถึงคนทั่วไปก็อาจใช้ One ก็ได้ครับ เป็นสรรพนามที่เหมาะสมในบรบทนี้ จึงสร้างเป็น active voice sentence ได้ว่า


One should understand that

สังเกตว่า แม้ภาษาไทยกล่าวว่า “ต้องเข้าใจ” ถ้าเราอยากแปลตรงๆ ให้เห็นคำว่า “ต้องทำ” โดยใช้คำว่า must ก็ไม่ผิดนะครับ เพราะเราได้เห็นรูปประโยคภาษาไทยมาก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ must อาจดูแรงได้ในแนวคำสั่งที่จะต้องทำ ในที่นี้ “ต้องเข้าใจ” มีบรบทเป็น “หน้าทีที่พึงกระทำ” ผมจึงเลือกใช้ should understand ในคราวนี้ ดีกว่าครับ


“..เราจะต้องมีวิชาสำหรับสร้างตัวให้มีความสุขความเจริญต่อไปข้างหน้า”


โดยเราจะนำ “กรรม” ของประโยคว่า “วิชา” คือ knowledge แล้วจะขยายต่อด้วย infinitive ดังนั้นจึงเฉพาะเจาะจงได้ จำต้องใส่ the นะครับตรงนี้


ได้ว่า
One must have the knowledge ..


ส่วนการขยายต่อ ของความหมาย “สำหรับสร้างตัว..” ตรงนี้มีความหมายเป็น “จุดเริ่ม” ครับ เราอาจนึกถึงสำนวนภาษาอังกฤษใกล้ตัวที่ใช้กันบ่อย ที่หมายถึงจุดเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ สำนวนว่า “to start with” ครับ


ได้ว่า
One must have the knowledge to start with..


จากนั้น เนื่องด้วย Verb คำว่า “start” ในกรณีนี้เราต้องการขยายเรื่องต่อ ต้องตามด้วย preposition ‘in’ และคำนามครับ เพราะส่วนนี้เราถือเป็น adverb clause ที่ช่วยสื่อความหมายขยายจากนาม “knowledge” มา ถ้าขาดตรงนี้จะดูห้วนๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องขยายต่อจาก adverb clause นี้ครับ แล้วถ้านึกถึงสำนวนใช้ได้ถูกต้องเมื่อไหร่ ใช้ได้เลยครับ ภาษาอังกฤษจะใช้สำนวนกันทั้งวันครับ.. โดยในความหมายว่า “สร้างตัว (ไปสู่)” ให้ไพเราะ เรามีสำนวนว่า “make your way to.. “ ครับ จึงดำเนินการทำ make ให้เป็น “คำนาม” ซะครับ โดยใส่ ‘ing’ เข้าไป ครับ แล้วตามด้วย “กรรม” ตรงๆ ได้เลยครับ โดยไม่ต้องเฉพาะเจาจงตรงกรรมนี้ครับ


ได้ว่า
one must have the knowledge to start with in making your/the way to future happiness and prosperity.


แก้ คำนำหน้าคำนาม จาก your เป็น the ดีกว่าในโอกาสนี้ครับ ให้สัมพันธ์กับประธาน one ครับ


ได้ว่า
one must have the knowledge to start with in making the way to future happiness and prosperity.


ต่อนะครับ


“..ถ้าไม่ขวนขวายศึกษาเสียแต่ต้นจะไม่มีโอกาส .. “


ตรงนี้เราก็ใช้โครงสร้างประโยคเงื่อนไขได้เลยครับ ความพอเหมาะพอเจาะมีอยู่ดี เงื่อนไขนี้ “เป็นไปได้จริง”

จึงได้ว่า

If you don’t have the initial endeavour to study then there will be no chance.


“ จะทำให้ชีวิตอับเฉาและเป็นคนไร้ประโชยน์ “
ส่วนนี้ มีความหมายสืบเนื่องจากประโยคก่อน นั่นคือมันยังอยู่ในประโยคเงื่อนไขอยู่ จึงจบประโยคไม่ได้ครับ

จึงอาจต่อได้ด้วย and

ได้ว่า
and life will be gloomy and useless


ส่วนนี้ แม้ในภาษาไทยเขียนว่า “เป็นคนไร้ประโยชน์” แต่ในภาษาอังกฤษเราต้องรักษาโครงสร้างหลักเอาไว้ หากเราแตกประโยคย่อยโดยเพิ่มประธานใหม่จะทำให้สับสนได้ครับ อย่างนี้ถือว่าความหมายใช้ได้ครับ


“..เพราะไม่มีความรู้ติดตัว”

ตรงนี้ ทำเป็น prepositional phrase ก็พอครับ นั่นคือ because of แล้วตามด้วย คำนาม
ได้ว่า

because of not having knowledge available.


รวมกันทั้งหมดครับ ได้ว่า


How to do that precisely? One should understand that one must have the knowledge to start with in making the way to future happiness and prosperity. If you don’t have the initial endeavour to study then there will be no chance and life will be gloomy and useless because of not having knowledge available.



ที่เหลือมาต่อกันคราวหน้านะครับ


ท่านใดอยากเขียนภาษาอังกฤษเก่งๆ สามารถเรียนคอร์ศส่วนตัว Writing กับผม หรือลงเรียนคอร์ส IELTS Life ก็ได้นะครับ ข้อมูลในเว็ปมีอยู่ครับ เราจะฝึกเขียนหลากหลายโครงสร้างประโยคแบบ Advance เลยครับ รับรองเรียนแล้วสนุก นำความรู้ไปเขียน essay หรือพวก academic writing ต่างๆ ได้สบายเลยครับ ลงเรียนวันนี้ โทร 085-164-6105


Happy Holidays Everyone,

Thanx Bristol House

www.bristolhouse.net
www.facebook.com/ThanEnglishClub/
BristolHouseThailand@yahoo.com
เรียนภาษาอังกฤษ ติดต่อ 085-164-6105

No comments:

Post a Comment